วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส


ความแตกต่างระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส

ระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้
    
1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส  - ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน หลอดไฟและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปในบ้านเราใช้ไฟฟ้ากระแสสลับระบบ 1 เฟส ( 1- phase ) 2 สาย แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสาย ไฟ 2 สายที่ใช้กันตามบ้านนี้ สายหนึ่งจะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ ( current line ) ส่วนอีก สายหนึ่งจะเป็นสายที่เดินไว้เฉยๆ ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่า สายนิวทรัล ( neutral line ) ดังจะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่เห็นมีช่องเสียบอยู่ 2 ช่องนั้น ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรส่วนบางแห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้า แบบ 1 เฟสเหมือนกันแต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน ( ground ) เพื่อให้กระแส ไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย และปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้กับ ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขาซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป


ระบบไฟฟ้า 2 เฟส


2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส - ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ( 3 - phase ) 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบที่ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องจักรต่างๆใน โรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะเครื่องจักรเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันไฟฟ้าที่สูง ไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง มาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะสงสัยว่าเมื่อระบบไฟฟ้า 3 เฟสไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆตามบ้านได้ โดยตรงแล้วจะเอามาแนะนำกันเพื่ออะไร ข้อสงสัยนี้สามารถอธิบายได้โดยไม่ยาก กล่าวคือ การนำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นมิได้เป็นการใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นโดย ตรง แต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไป ตามจุดต่างๆที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ - ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า กล่าวคือยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตรา ที่สูงขึ้น ฉะนั้นการกระจาย การใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วนจากระบบไฟฟ้าที่นำเข้า 3 เฟสดังกล่าว จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง จึงไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง


ระบบไฟฟ้า 3 เฟส

                      การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณ มากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ

ซึ่งระบบแสงสว่างที่ใช้หลอดไฟโดยทั่วไปจะใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส แต่ถ้าหากภายในโรงงานเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาในโรงงานก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับหลอดไฟโดย ตรง แต่ต้องนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆที่มีการใช้ระบบแสงสว่างถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุดนี้ควรจะมีชนิด จำนวน และขนาดของหลอดไฟใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลในระบบไฟฟ้า


การแยกไฟฟ้าระบบ 3 เฟส เป็นระบบ 1 เฟส 3ชุด เพื่อใช้ในระบบแสงสว่าง

โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15) , 15(45) ,30(100) และ 50(150) แอมแปร์ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึงกระแส ไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวงเล็บ หมายถึงกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ หมายความว่าขนาดของระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้สามารถรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดย รวมได้ 15 แอมแปร์อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ แต่จะสามารถทนกระแส ไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 45 แอมแปร์ในบางครั้งบางคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในขณะที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศใหม่ๆ เครื่องปรับอากาศจะกินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ ถึงแม้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้โดย รวมในช่วงเวลานั้นอาจจะสูงเกินกว่าระดับปกติบ้าง แต่ถ้าเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาต่อระบบไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าแต่ประการใด โดยปกติถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กที่มีการติดตั้ง ดวงไฟและปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดอาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดแค่ 15(15) แอมแปร์ก็เพียงพอ ถ้ามี เครื่องปรับอากาศ 1-2 เครื่องก็อาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีการ ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหลายเครื่องก็อาจจะต้องใช้ มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 50(150) แอมแปร์ หรือบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปอีกก็ควรจะพิจารณาขอติดตั้งระบบ ไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้าที่มีขนาดเป็น 3 เท่าของไฟฟ้าระบบเฟสเดียวตาม ขนาดตัวเลขแอมแปร์ข้างต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเทียบเท่ากับได้ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวตามขนาดตัว เลขแอมแปร์ข้างต้นเป็นจำนวน 3 ชุดนั่นเอง เช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 30(100) แอมแปร์ 380 โวลต์ 1 ชุด ก็เทียบเท่ากับติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 30(100) แอมแปร์ 220 โวลต์ 3 ชุดนั่นเอง

        การขอระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่า ใช้จ่ายสูงกว่าในตอนต้น แต่จะประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว ในขณะที่การขอระบบไฟฟ้าเฟส เดียวจะสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในตอนต้น แต่จะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากกว่าในระยะยาว โดยทั่วไปถ้าไม่มีการกำหนดหรือระบุถึงความต้องการเป็นกรณีพิเศษแล้วผู้รับเหมาก่อสร้างหรือช่าง ไฟฟ้าก็มักจะขอติดตั้งระบบไฟฟ้า เฟสเดียวให้โดยไม่คำนึงถึงว่าบ้านนั้นจะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาก หรือน้อยเพียงใด เพราะเป็นการสะดวกและประหยัดในตอนต้น ฉะนั้นถ้าผู้ใดที่กำลังปลูกบ้านและ เห็นว่าการใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟสจะเป็นประโยชน์และเป็นผลดีต่อไปก็ควรจะกำหนดหรือระบุเอาไว้ เสียตั้งแต่แรก

     อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญและควรต้องระวังอย่างยิ่งก็คือ การแยกระบบไฟฟ้า 3 เฟสออกเป็น 3 ชุดเพื่อนำไปใช้งานตามจุดต่างๆ นั้น สายไฟแต่ละคู่ที่เดินไว้สำหรับการใช้งานตามจุดต่างๆ นั้นจะต้องเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเท่านั้น นั่นคือสายไฟแต่ละคู่ที่เดินแยกออกมาจะต้องมีสายไฟ เพียงเส้นเดียวเท่านั้นที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ส่วนอีกเส้นหนึ่งจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้า เป็นอย่าง นี้คู่กันเสมอ และจะต้องไม่เดินสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ทั้ง 2 เส้นคู่กันเป็นอันขาดเพราะจะทำ ให้แรงดันไฟฟ้า ณ จุดนั้นกลายเป็น 380 โวลต์ ซึ่งจะมีผลทำให้ดวงไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้งาน ณ จุดนั้นเกิดการชำรุดเสียหาย และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อีกด้วย ฉะนั้นหลัง จากการเดินสายไฟภายในบ้านควรมีการทดลองสายไฟที่เดินไว้ตามจุดใช้งานทุกจุดอย่างถี่ถ้วนว่าเป็น ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเพื่อป้องกันปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้   

Cr. psjenergysave.com
********************************************************************************
ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง
ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
www.kor-karnchang.com
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email: cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ถมดินอย่างไรไม่ให้ทรุด






ดิน ประกอบด้วย เนื้อดิน น้ำ และ อากาศ ในการถมที่ดิน หรือ การบดอัดนั้น สิ่งที่จำเป็นคือการไล่พื้นที่ของอากาศ หรือ ช่องว่างออกจากเนื้อดิน โดยการใช้ แรง หรือ เรียกว่า น้ำหนักกดทับ ในการทำให้เนื้อดิน เข้าแทนที่ช่องว่าง รวมถึง วิธีการใช้น้ำ ซึ่งดินชนิดเนื้อละเอียด จะละลายน้ำ ซื่งน้ำจะเป็นตัวช่วยให้อนูของดินสอดแทรก แทนที่ช่องว่าง ของอากาศได้ ดังนั้นวิธีการถมที่ดินจึงมีหลายวิธีการ ขึ้นตามชนิดของดิน และ ประเภทของประโยชน์ใช้สอย

ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน จะขึ้นกับชนิดของดิน วิธีการบดอัด และ ระยะเวลาในการทำงาน การบดอัดจะทำได้กับดินบ้างประเภท เช่น ดินลูกรัง ดินดาน หน้าดิน ทราย หินคลุก ซึ่งจะเป็นดินชนิดที่มีความแห้ง ไม่เปลี่ยนรูป หรือ มีการเปลี่ยนรูปน้อย (ดินบ่อ หรือ ดินเปียก จะเป็นดินที่มีปริมาณน้ำผสมอยู่ จะเปลี่ยนรูปได้ง่าย)

*หมายเหตุ: บดอัดจนเกินความจำเป็นจะส่งผลให้ สิ้นเปลืองเงิน และ ปลูกต้นไม้ได้ยาก


Cr. sittichokgroup.com

ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง
ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email: cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ชนิดของวัสดุโครงหลังคา






วัสดุโครงหลังคา


1.โครงหลังคาเหล็กนั้นยังสามารถแยกเป็น     โครงหลังคาเหล็กกลม ซึ่งนิยมใช้ในหลังคาที่ต้องการรูปทรงที่แปลกตา ตลอดจนมี ระยะช่วงกว้างของเสามากๆ     ส่วนโครงสร้างหลังคาเหล็กอีกประเภทคือ โครงหลังคาที่เป็นเหล็กตัว C ซึ่งมัก จะเป็นเหล็กที่มี ความหนาราวๆ         2.3  มม. เหมาะสำหรับใช้กับกระเบื้องลอนคู่ และความหนาขึ้นมาหน่อยขนาด 3.2  มม. ใช้กับ กระเบื้องโมเนีย นอกจากนี้เหล็กที่ใช้ต้องเป็นเหล็กที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม และจำเป็นต้อง ทาด้วยสีกันสนิม ที่ได้รับมาตรฐานไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
2. โครงหลังคาไม้เนื้อแข็งต้องเป็นไม้ที่ได้รับการอบ หรือผึ่งจนแห้ง จะต้องไม่มีร้อยแตกร้าวบิด หรืองอ ต้องเป็นไม้ที่ได้มาตรฐาน ของกรมป่าไม้ นอกจากนี้ควรทาน้ำยากันปลวกอย่างน้อย 2 ครั้ง เพราะปลวกในบ้านเราชุกชุมและขยันเหลือเกิน การขึ้นโครงหลังคา ที่เป็นไม้ ควรใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหนา 2” x 6” หรือ 2” x 8” ขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนัก และความกว้างของอาคารตาม ความเหมาะสม หากอาคารมีช่วงกว้างมาก ควรใช้ไม้ค้ำยันเสริมความแข็งแรง เป็นโครงถัก ที่ภาษาช่างมักเรียกว่า โครงทรัส (Truss) ส่วนระยะการวางจันทันต้องเว้นระยะประมาณ 1 เมตร เนื่องจากการวางจันทัน ระยะที่ถี่จะช่วยลด ความเสี่ยงที่ทำให้ หลังคาแอ่นได้

1.วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้อง สามรถแบ่งออกได้เป็น

- กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาที่ต้องการโชว์หลังคาเช่น บ้านทรงไทย โบสถ์ วิหารกระเบื้องชนิดนี้ใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆ มิฉะนั้นหลังคามีโอกาสจะรั่วได้
 - กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนักมาก ทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่ากระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถมุงหลังคาในความชันตั้งแต่ 17 องศา
- กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ มีความสวยงามเพราะผิวกระเบื้องมีความเนียนเรียบ- กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้อง เอสเบสทอสซีเมนต์ กระเบื้องชนิดนี้มีคุณสมบัติกันไฟ และเป็นฉนวนป้องกันความร้อน มีราคาไม่แพงและมุงหลังคาที่มีความลาดชันตั้งแต่ 10 องศากระเบื้องซีเมนต์ใยหินสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามที่พบในท้องตลาดมี 2ชนิดคือ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็กใช้กับบ้านพักอาศัย ส่วนลูกฟูกลอนใหญ่ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตามสัดส่วนที่รับกันพอดี- กระเบื้องลอนคู่ระบายน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากมีลอนที่ลึกและกว้างกว่า จึงนิยมใช้มุงหลังคามากกว่า


2. วัสดุมุงหลังคาโลหะ หรือเรียกกันภาษาช่างว่าหลังคาเหล็กรีด 

วัสดุมุงหลังคาโลหะ หรือเรียกกันภาษาช่างว่าหลังคาเหล็กรีดทำจากแผ่นเหล็กอาบสังกะสีดัดเป็นลอน นิยมใช้ในการมุงหลังคา ขนาดใหญ่เพิ่มสีสันให้กับอาคารสมัยใหม่ แต่วัสดุชนิดนี้มีปัญหาเรื่องความร้อน เนื่องจากหลังคาโลหะกันความร้อนได้น้อยมาก และมีปัญหาเรื่องเสียงในเวลาฝนตก

Cr. concept-en.com

 ******************************************************************************************************
ก.การช่าง ทีมงานมืออาชีพ 👷🏼เราดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ เราดูแลเรื่องทุน เรื่องเวลา และเรื่องคุณภาพให้กับท่าน #รับสร้างบ้าน #รับต่อเติม #รับตกแต่ง #รับออกแบบ #รับเขียนแบบ #รับประมาณราคาฟรี #รับปรึกษาการก่อสร้าง#เชียงใหม่ #รับทำ3D  www.kor-karnchang.com
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email:cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang


วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แต่งห้องน้ำแคบให้ดูกว้าง ด้วยการเลือกลายกระเบื้อง






แต่งห้องน้ำแคบให้ดูกว้าง ด้วยการเลือกลายกระเบื้อง

ลักษณะการใช้งานห้องน้ำ เป็นห้องที่มีความเปียกชื้นบ่อยครั้ง วัสดุสำหรับงานพื้น งานผนังจึงต้องเป็นวัสดุที่รองรับการเปียกน้ำรวมทั้งสามารถทำความสะอาดได้โดยง่าย กระเบื้องจึงกลายเป็นวัสดุที่นิยมนำมาตกแต่งร่วมกับห้องน้ำมากที่สุด ด้วยผิวเคลือบเซรามิกที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งปัจจุบันเทคโนโลยี Digital Printing ช่วยสร้างสรรค์ลวดลายบนแผ่นกระเบื้องได้อย่างไม่จำกัด ไม่ว่าเจ้าของบ้านชื่นชอบสไตล์ใด มีลวดลายให้เลือกตามความต้องการ 

เลือกกระเบื้องให้ถูกประเภท

  • กระเบื้องสำหรับพื้นห้องน้ำ 
พื้นห้องน้ำ ควรออกแบบแยกระหว่างส่วนเปียก ส่วนแห้ง หากเป็นส่วนแห้งสามารถใช้กระเบื้องทั่วไปได้ แต่สำหรับส่วนเปียก เหมาะกับแผ่นกระเบื้องที่มีผิวสัมผัสฝืดเท้าเพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม แต่หากเลือกกระเบื้องมาผิดประเภท ผู้อ่านอาจหาซื้อน้ำยากันลื่นมาเคลือบผิวไว้ สามารถช่วยกันลื่นได้ดีเช่นกันครับ ข้อห้ามสำหรับกระเบื้องปูพื้น ไม่ควรนำกระเบื้องปูผนังมาใช้ แต่กระเบื้องปูพื้น สามารถนำไปปูผนังได้
  • กระเบื้องสำหรับผนังห้องน้ำ
ห้องน้ำส่วนมากนิยมตกแต่งผนังด้วยกระเบื้อง เพราะเมื่อใช้งานไปนาน ๆ ผนังที่ชื้นจะก่อให้เกิดเชื้อรา คราบสกปรกสะสม หากปูกระเบื้องไว้จะทำความสะอาดได้ง่าย สำหรับงานผนังจะมีกระเบื้องให้เลือกที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งกระเบื้องโมเสก, กระเบื้องแก้ว, เซรามิก, และอื่น ๆ ทั้งนี้ไม่ควรเลือกกระเบื้องที่มีผิวหยาบ เพราะจะทำความสะอาดได้ยากครับ

แนวทางการเลือกลายกระเบื้อง

แนวทางการเลือกกระเบื้องในเนื้อหาชุดนี้ ต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า ไม่ได้เป็นทฤษฎีตายตัว เพราะความสวยงามนั้นเกิดขึ้นได้หลาย ๆ ปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญคือความชื่นชอบส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของห้องเอง ในเนื้อหาจึงเป็นเพียงอีกแนวทางตัวเลือกหนึ่งที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกันได้ไม่ยากนัก โดยปกติห้องน้ำเล็กสุดที่ พรบ.ควบคุมอาคารอนุญาตให้สร้างได้ จะมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.ม. หรือประมาณ 1 x 1.5 เมตร ยิ่งห้องน้ำมีความเล็กมาก การออกแบบจะยิ่งมีความสำคัญ เพราะหากตกแต่งไม่ดีจะยิ่งส่งผลให้ห้องน้ำดูอึดอัด คับแคบจนเกินไป สำหรับแนวทางการเลือกกระเบื้องเพื่อห้องน้ำเล็ก มีดังนี้
  • ใส่ใจทุกรายละเอียดของลวดลาย
แม้กระเบื้องแผ่นใหญ่จะช่วยให้การทำความสะอาดง่ายขึ้น แต่หากนำมาปูร่วมกับห้องน้ำแคบจะส่งผลให้ดูอึดอัด ส่วนกระเบื้องเล็กช่วยให้สัดส่วนของห้องแคบเกิดความสมดุลยิ่งขึ้น เส้นสายของยาแนวช่วยให้พื้นกระเบื้องดูละเอียดอ่อน หรือหากใครต้องการใช้กระเบื้องแผ่นใหญ่ แนะนำให้เลือกที่มีลวดลายบนผิวกระเบื้องจะช่วยพลางตาได้ดี หลักการของข้อนี้ ให้เราลองสังเกตมองวัตถุใด ๆ หากวัตถุนั้นมีเพียงสีเดียว ไม่มีรายละเอียด เราจะมองแบบผ่านตา แต่หากวัตถุชิ้นนั้นมีลวดลาย มีความละเอียดอ่อน สายตาจะมองช้าลง ทำให้ดูเสมือนว่าพื้นที่ดังกล่าวกว้างใหญ่ขึ้น ในทางกลับกันกรณีห้องน้ำมีขนาดกว้างใหญ่ แนะนำให้เลือกพื้นกระเบื้องขนาดใหญ่ เป็นสีพื้นลวดลายน้อย ๆ เพราะหากห้องใหญ่ มีลวดลายมาก จะดูรบกวนสายตามากเกินไป


  • เลือกกระเบื้องต่างสี ช่วยเพิ่มมิติให้ห้องน้ำได้
โดยปกติเรามักเข้าใจกันว่า สีอ่อน เป็นสีที่ดูกว้าง แต่อีกมุมหนึ่งของสีอ่อนส่งผลให้ห้องขาดมิติ การเพิ่มมิติให้ห้องน้ำแคบ ๆ ช่วยให้ดูลึกขึ้นได้ โดยให้เลือกผนังด้านที่มีหน้าแคบหรือผนังด้านในเป็นสีโทนเข้ม ส่วนผนังด้านนอกหรือผนังด้านกว้าง เลือกเป็นสีโทนอ่อน นอกจากนี้ มิติยังสามารถใช้ร่วมกับส่วนกั้นต่าง ๆ เช่น ผนังในตำแหน่งฝักบัว, อ่างล้างหน้า, และชักโครก
นอกจากนี้มิติของห้องยังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยผิวสัมผัสที่มีความแตกต่างกัน ปัจจุบันแผ่นกระเบื้องไม่ได้มีเพียงแค่แบบผิวเรียบ แต่ยังให้ผิวที่มีมิติ น่าสัมผัส ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ให้ห้องน้ำของเราดูลื่นไหล น่ามองมากยิ่งขึ้น


  • เพิ่มขอบเขตให้ดูเป็นสัดส่วน
หากไม่ต้องการให้ห้องน้ำดูโล่งจนเกินไป ผู้อ่านอาจเลือกใช้เส้นกั้นขอบเขต โดยเส้นในที่นี้เกิดจากลวดลายที่เหมือนกันเรียงต่อกันซ้ำ ๆ นั่นก็คือแผ่นกระเบื้องที่มีลวดลายหรือสีที่แตกต่างไปจากลายพื้นนั่นเองครับ สามารถทำเส้นแบ่งได้ทั้งแนวตั้ง แนวนอน ช่วยให้ห้องดูเป็นสัดส่วน เสมือนว่ากว้างได้

เคล็ดไม่ลับที่อยากบอก
  • การวางแผนที่ดีจะทำให้คุมงบประมาณไม่ให้บานปลายได้ เพราะฉะนั้นควรวัดพื้นที่ในห้องน้ำก่อน เพื่อคำนวณหาปริมาณกระเบื้องที่พอดีในการใช้งาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่กระเบื้อง 1 กล่อง ก็จะปูได้ประมาณ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะใช้กระเบื้องไซส์อะไร และแบบใด เพราะทั้งแบบและขนาดก็มีผลต่อราคากระเบื้องที่ต้องใช้
  • ควรใช้ยาแนวสำหรับห้องน้ำโดยเฉพาะเพราะยาแนวกลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ ใช้ได้กับพื้นที่ที่เปียกชื้น ป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำหรือความชื้นลงไปใต้ร่องกระเบื้อง และทนกับสารเคมีที่ใช้ในห้องน้ำอีกด้วย
  • เมื่อซื้อกระเบื้องมาแล้ว ก็ควรจดชื่อยี่ห้อ รุ่นสินค้า ปีผลิต หรือเก็บรหัสที่ข้างกล่องไว้ด้วย เผื่อต้องมีการซื้อกระเบื้องเพิ่มเติม และเทียบเฉดสีและล็อตในการผลิตให้ได้เฉดสีที่ตรงกัน
อย่างไรก็ตาม เทคนิคการเลือกกระเบื้องนั้นเป็นเพียงความรู้สึกที่ได้รับผ่านการมองเห็น ดีไซน์สามารถทำให้ห้องเล็ก ๆ ดูโปร่งขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ยังจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การเลือกรูปทรงสุขภัณฑ์ที่เหมาะกับขนาดของห้อง การจัดวางตำแหน่งสุขภัณฑ์ให้ลงตัว รวมทั้งการออกแบบและเลือกวัสดุที่ดูโปร่งเบา ทุกส่วนล้วนเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ห้องน้ำแคบ ดูกว้างขึ้นได้ 


Cr.banidea.com
        
**********************************************************************************************************************

ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง
ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
www.kor-karnchang.com
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email: cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ชนิดของ ปูน ที่ใช้ในงานช่างและการก่อสร้าง






ชนิดของ ปูน ที่ใช้ในงานช่างและการก่อสร้าง สามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท ใหญ่ๆ ได้แก่

1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ใช้ในงานช่างทั่วไป ใช้หล่อทำพื้น เทคาน หรือเสา ใช้ทำ คอนกรีตเสริมเหล็ก 

2. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ดัดแปลง เป็นการพัฒนาคุณสมบัติของปูนให้สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนของบริเวณที่มีเกลือซัลเฟต ใช้ทำ งานโครงสร้างขนาดใหญ่พวกตอม่อสะพาน เขื่อน เป็นต้น

3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบบ High-early Strength ใช้สำหรังานที่ต้องการความเร็วหรืองานเร่งด่วนเป็นพิเศษ เช่นการทำพื้นผิวถนน ทำเสาเข็ม เป็นต้น

4. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ความร้อนต่ำ เป็นปูนที่ออกแบบมาให้เกิดความร้อนในการแข็งตัวน้อย ซึ่งจะส่งผลให้คอนกรีตไม่แตกร้าวง่าย 

5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แบบทนเกลือซัลเฟตได้สูง ใช้สำหรับก่อสร้างในบริเวณที่มีสภาพดินเค็ม หรืออยู่บริเวณใกล้ทำเล 

นี่เป็นชนิดของปูนที่มีการใช้งานอยู่ ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องยากสักหน่อยในการใช้งานของเจ้าของบ้าน แต่นอกจากนี้ ยังมีปูนที่เราสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ตามการใช้งานได้อีกหลายชนิด เช่น...

ปูนฉาบสำเร็จรูป ซึ่งมีการผสมทรายละเอียดลงไปในเนื้อปูน สามารถผสมน้ำแล้วใช้ทำงานฉาบได้ทันที

ปูนฉาบผิวบาง เป็นปูนสำหรับใช้ซ่อมแซมผิวคอนกรีตที่เสียหาย หรือใช้ฉาบแต่งผนังคอนกรีตสำเร็จรูป

ปูนฉาบละเอียด เป็นปูนที่มีเอาฉาบแต่งหน้า มีเนื้อปูนที่เนียนเป็นพิเศษ ใช้แต่งหน้าเพื่อเก็บรายละเอียดของงานทำให้งานออกมาสวยงามมากขึ้น

ปูนกาว หรือ กาวซีเมนต์ เป็นปูนสำหรับใช้ยึดติดกระเบื้องกับผนังหรือพื้น มีความเหนียวและยึดเกาะสูง

ปูนเกร๊าท์ จริงปูนชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทเคมีภัณฑ์มากกว่า แต่ก็ยังเรียกได้ว่าเป็นปูน นิยมใช้ในงานการซ่อมแซม

ปูนซ่อมเอนกประสงค์ เป็นปูนที่จัดอยู่ในประเภทใช้ซ่อมแซม ใช้สำหรับซ่อมรอยแตกร้าวของผนัง คาน เสา หรือแม้แต่พื้นก็สามารถใช้งาน ใช้สะดวกมากเพียงผสมน้ำก็ใช้งานได้แล้ว 

Cr. houzzmate.com

******************************************************************************************************************************
ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง
ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
www.kor-karnchang.com
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email: cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang




วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

3 หลักการตามรอยพ่อ ทำสวนเกษตรแบบพอเพียง








ตามหลักแล้วการทำหรือการทำเกษตรแบบพอเพียงนั้นมุ่งเน้นเรื่องให้เรามีผักที่ปลอดภัยทานทุกวัน โดยไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน ดังนั้นแนวทางปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกฝังไว้ให้กับคนไทย จึงนำ 3 หลักการทำสวนเกษตรแบบพอเพียงมาเป็นแนวทางสำหรับใครก็ตามที่อยากตามรอยเท้าพ่อ

1.สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวต้องเป็นผู้ปลูกและดูแลผักเหล่านั้นด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้มีชนิดและปริมาณผักตรงตามความชอบและความต้องการของคนในครอบครัว สำหรับส่วนที่เหลืออาจนำไปขายเพื่อสร้างรายได้

2.รูปแบบสวนครัวพอเพียงที่เหมาะสมคือ สวนที่มีเนื้อที่พอเหมาะ เพราะสามารถปลูกพืชผักได้พร้อมกันในคราวเดียว มีทั้งผักยืนต้น ไปจนถึงพืชล้มลุกอายุยืน หรือผักล้มลุกอายุสั้นผสมลงในแปลงปลูก ซึ่งทำให้เกิดการหมุนเวียนได้ตลอดปี

3.ถ้าไม่มีที่ดินปลูกผัก อาจปลูกผักในภาชนะที่ไม่ได้ใช้งาน เช่นปีบ ตะกร้า กระป๋อง ถังแตก ลังไม้ หรือแม้จะไม่มีพื้นที่เลยการเพาะถั่งงอกไว้ทานเอง โดยเพาะในตะกร้าพลาสติกก็ทำได้เช่นกัน

ขอบคุณภาพจาก thaihealth
Cr. Sanook.com
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง
ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
www.kor-karnchang.com
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email:cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

5 ลักษณะที่ดินต้องห้าม ไม่ควรใช้สร้างบ้านหรือซื้อไว้ลงทุน



ลักษณะที่ดินต้องห้ามที่ไม่ควรใช้สร้างบ้านหรือซื้อมาลงทุน เพื่อทำกิจการค้าขายหรือเก็งกำไร เพราะจะส่งผลด้านลบต่อทั้งกิจการและผู้เป็นเจ้าของ มาดูกันว่าลักษณะที่ดินต้องห้ามที่ไม่ควรซื้อมีอะไรบ้าง  รวมลักษณะที่ดินต้องห้าม

1. เข้าออกลำบาก

          มีลักษณะเป็นที่ดินที่ถูกล้อม ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินต้องห้ามลักษณะนี้อาจเกิดจากการแบ่งย่อยที่ดินแปลงใหญ่ให้เล็กลงเป็นหลายแปลง เช่น เป็นมรดกให้ลูกหลาน เป็นต้น ที่ดินลักษณะนี้ก่อเกิดปัญหาความวุ่นวายในการขอเส้นทางสัญจรเข้าออก ดังนั้นควรตรวจสอบตำแหน่งที่ดินเบื้องต้นได้โดยนำเลขที่โฉนดเข้าตรวจสอบที่กรมที่ดินเขตนั้น ๆ หากพบว่ามีเลขที่ดินล้อมอยู่ทั้งรอบแปลงที่ดินเรา สันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ดินไม่มีทางเข้า-ออก (ยกเว้นโฉนดที่ดินจัดสรร) ยื่นขอตรวจระวางใหญ่เพื่อดูแปลงที่ดินนั้นทั้งหมดต่อไป ทั้งนี้หากเป็นที่ดินตาบอด เจ้าของที่ดินแปลงนั้นก็มีสิทธิ์ฟ้องเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมรอบได้ เพื่อขอเปิดทางไปสู่ทางสาธารณะ เรียกว่า “ทางจำเป็น” ตรวจสอบเบื้องต้นว่ามีการจดทะเบียนภาระจำยอมให้หรือไม่ การสัญจร “ทางจำเป็น” ต้องเกิดความเสียหายต่อที่ดินแปลงล้อมรอบให้น้อยที่สุดและต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินแปลงนั้น ๆ ด้วย

2. ที่ดินรูปทรงไม่สมบูรณ์

          รูปร่างที่ดินที่ผิดแปลกไปจากรูปทรงสี่หลี่ยมดูจะมีโอกาสเกิดปัญหาการใช้สอยประโยชน์พื้นที่ไม่น้อย ขณะที่หลายคนก็เชื่อหลักที่ดินต้องห้ามตามศาสตร์ฮวงจุ้ย ผลลัพธ์มักออกมาในรูปแบบคล้ายกัน เช่น ที่ดินรูปชายธง (สามเหลี่ยม) เป็นหนึ่งรูปทรงที่ผิดหลักตามศาสตร์ฮวยจุ้ย และเมื่อมองในรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่จะพบว่า มักเสียประโยชน์ใช้สอยบริเวณสามเหลี่ยม ด้วยหลักกฎหมายการก่อสร้าง ต้องคำนึงเรื่องระยะร่น การออกแบบโครงการตึกก็ทำได้ยากกว่ารูปทรงปกติ อาจก่อปัญหาอื่นตามมาได้ รูปทรงที่ดินต้องห้ามในการลงทุนจึงมักจะเป็นรูปทรงแปลก เช่น ทรงสามเหลี่ยม ทรงรี หรือทรงเหลี่ยมที่มีลักษณะหน้าแคบแต่ลึก ซึ่งยากต่อการใช้สอยประโยชน์ เป็นต้น

3. สถานที่เดิม-สิ่งแวดล้อมที่ดินไม่เหมาะสม

          การตรวจสอบความเป็นมาของที่ดินแปลงนั้นก็สำคัญไม่น้อย อย่าลงทุนที่ดินต้องห้ามเพียงเพราะราคาประกาศขายถูกกว่าตลาด ลองสำรวจความเป็นมาที่ดินแปลงดูเสียก่อน ลักษณะที่ดินที่ไม่ควรลงทุน เช่น เป็นสุสานเก่า โรงพยาบาลเก่า โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น สาเหตุไม่ควรลงทุน คือ ด้านจิตใจและพลังงานร้าย ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล สำหรับทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลจะเป็นเรื่องของดินที่กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่าง ๆ จากการกิจกรรมที่กระทำในอดีต จึงไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสถานที่ทางศาสนา อย่าง วัดวาอาราม โบสถ์ มัสยิด เป็นต้น

4. ตำแหน่งที่ตั้งที่ดิน เสี่ยงต่อความปลอดภัย

          ตำแหน่งที่ตั้งแปลงที่ดินส่งผลต่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัยและความมั่นคงในอนาคตได้ ต้องศึกษาตรวจสอบที่ดินว่าตั้งในบริเวณที่ก่อโอกาสเกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือความแข็งแรงของที่ดิน กลายเป็นที่ดินต้องห้ามหรือไม่ เช่น ที่ดินบริเวณทางสามแพร่ง โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุรถยนต์พุ่งเข้าชนย่อมสูงกว่าตำแหน่งอื่น ที่ดินบริเวณริ่มแม่น้ำฝั่งที่ถูกน้ำกัดเซอะ ยิ่งนานวันยิ่งเสียขนาดที่ดินพังทลายไปเรื่อย ที่ดินบริเวณเดิมเป็นบ่อเลี้ยงปลาเป็นบ่อน้ำ หากถมดินไม่ดี โอกาสเกิดที่ดินจะทรุดตัวย่อมมากว่าตำแหน่งอื่น หากสร้างบ้านอยู่อาศัยก็มีโอกาสไม่ปลอดภัยในอนาคตได้

5. เอกสารกฎหมายที่ดินต่าง ๆ
          เอกสารกฎหมายที่ดินต่าง ๆ ลักษณะที่ดินเพื่อการลงทุนควรมีเอกสารทางกฎหมายชัดเจน รายละเอียดประเภทสิทธิการถือครองต่าง ๆ ควรทำการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนว่าตอบสนองความต้องการลงทุนของเราหรือไม่ บางกรณีมีข้อจำกัดสิทธิ ถือครองได้แต่โอนต่อไม่ได้ หรือ เป็นที่ดินไม่มีโฉนด เช่น ที่ดินมือเปล่า ลักษณะเป็น ส.ป.ก. ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ เป็นที่ดินของรัฐที่ไม่ได้ทำประโยชน์ จัดสรรให้แก่เกษตรกรได้เอาไปทำประโยชน์ประกอบอาชีพ จึงจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเภทที่ดินที่ไม่สามารถออกโฉนดได้ เช่น ที่ดินมีหลักฐานสิทธิทำกิน (สทก.) ลักษณะเป็นหนังสืออนุญาตให้ผู้ที่ได้เข้าไปบุกรุกทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นผู้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินเท่านั้น จึงไม่สามารถนำมาขอออกโฉนดที่ดินได้ เป็นต้น


Cr. kapook .com

---------------------------------------------------------
ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง
ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
www.kor-karnchang.com
Phone: 0979692624 , 0955419777, 0954956444
Email:cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang