รื้อบ้านเก่าสร้างบ้านใหม่ ทำอย่างไรกับโครงสร้างใต้ดินเดิม
การสร้างบ้านหลังใหม่ในที่ดินที่มีโครงสร้างบ้านเดิมอยู่
จำเป็นต้องรื้อถอนโครงสร้างใต้ดิน หรือปล่อยทิ้งไว้ได้
และจะมีผลกระทบต่อการก่อสร้างบ้านหลังใหม่อย่างไร
หลายท่านที่มีบ้านเก่าหรือซื้อที่ดินพร้อมบ้านเก่ามา แล้วต้องการรื้อถอนเพื่อสร้างบ้านใหม่ อาจกังวลเรื่องผลกระทบต่อโครงสร้าง รูปแบบบ้าน และการก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้ทำการรื้อถอนโครงสร้างใต้ดินเดิม ไม่ว่าจะเป็นฐานรากหรือเสาเข็ม ซึ่งการพิจารณารื้อถอนรวมถึงการแก้ปัญหาที่หน้างานนั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงสร้างใต้ดินเดิมและโครงสร้างบ้านหลังใหม่ หากแต่เราควรคำนึงเรื่องการอยู่อาศัยในบ้านหลังใหม่เป็นสำคัญ
ขั้นตอนในการรื้อถอนบ้านจะเริ่มจากการรื้อถอนชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถถอดออกมาได้ง่ายก่อน เช่น ประตู หน้าต่าง วงกบ เหล็กดัด ดวงโคม รวมทั้งชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ยังใช้ได้และมีมูลค่า ชิ้นส่วนต่างๆ ที่รื้อออกมาในขั้นตอนนี้สามารถนำไปใช้ซ้ำ หรือขายต่อได้ ขั้นตอนถัดมาจะเป็นการรื้อถอนหลังคา ผนัง และโครงสร้าง ตามลำดับ โดยหลังจากรื้อถอนส่วนของอาคารเหนือพื้นดินหมดแล้วและนำขยะก่อสร้างไปทิ้งเรียบร้อย ก็จะเป็นส่วนของโครงสร้างใต้ดินซึ่งประกอบด้วยฐานราก และอาจจะมีเสาเข็มในกรณีเป็นดินอ่อน เช่น ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เสาเข็มนั้นมีทั้งแบบเข็มสั้น และเข็มยาว เสาเข็มสั้นมีความยาวตั้งแต่ 1-6 เมตร ส่วนเสาเข็มยาวจะมีความยาวลึกมากกว่า 6 เมตรเพื่อให้ถึงชั้นดินแข็ง โดยเสาเข็มจะลงลึกประมาณ 17-23 เมตรสำหรับบ้านพักอาศัย และอาจจะลึกถึง 52 เมตรสำหรับอาคารขนาดใหญ่
ขั้นตอนในการรื้อถอนบ้านจะเริ่มจากการรื้อถอนชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถถอดออกมาได้ง่ายก่อน เช่น ประตู หน้าต่าง วงกบ เหล็กดัด ดวงโคม รวมทั้งชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ยังใช้ได้และมีมูลค่า ชิ้นส่วนต่างๆ ที่รื้อออกมาในขั้นตอนนี้สามารถนำไปใช้ซ้ำ หรือขายต่อได้ ขั้นตอนถัดมาจะเป็นการรื้อถอนหลังคา ผนัง และโครงสร้าง ตามลำดับ โดยหลังจากรื้อถอนส่วนของอาคารเหนือพื้นดินหมดแล้วและนำขยะก่อสร้างไปทิ้งเรียบร้อย ก็จะเป็นส่วนของโครงสร้างใต้ดินซึ่งประกอบด้วยฐานราก และอาจจะมีเสาเข็มในกรณีเป็นดินอ่อน เช่น ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เสาเข็มนั้นมีทั้งแบบเข็มสั้น และเข็มยาว เสาเข็มสั้นมีความยาวตั้งแต่ 1-6 เมตร ส่วนเสาเข็มยาวจะมีความยาวลึกมากกว่า 6 เมตรเพื่อให้ถึงชั้นดินแข็ง โดยเสาเข็มจะลงลึกประมาณ 17-23 เมตรสำหรับบ้านพักอาศัย และอาจจะลึกถึง 52 เมตรสำหรับอาคารขนาดใหญ่
ในการรื้อถอนส่วนโครงสร้างใต้ดินนั้นผู้รับเหมาจะทำการขุดเปิดหน้าดินและรื้อฐานรากออก ส่วนการรื้อถอนเสาเข็มที่อยู่ในดินลึกลงไปนั้นจะทำได้ยากจึงมักจะปล่อยไว้ นอกจากจะเป็นเสาเข็มสั้นที่พอที่จะสามารถขุดขึ้นมาได้เท่านั้น
ถึงแม้ว่าเสาเข็มจะไม่สามารถรื้อถอนได้ แต่การสร้างบ้านหลังใหม่เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกแบบบ้านสำเร็จรูปมาก่อสร้าง หรือใช้บริการออกแบบโดยสถาปนิก จึงควรให้แบบบ้านเป็นไปตามที่เราต้องการมากที่สุด โดยไม่ต้องสนใจเรื่องตำแหน่งเสาเข็มเดิม เพราะเมื่อถึงขั้นตอนการก่อสร้างบ้านใหม่ ซึ่งจะมีการสำรวจและปักหมุดตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มและทำฐานรากอยู่แล้ว หากตำแหน่งใดไม่สามารถลงเสาเข็มใหม่ได้เนื่องจากติดเสาเข็มเดิม หรือใกล้กับเสาเข็มเดิมเป็นระยะน้อยกว่า 3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็มใหม่ วิศวกรโครงสร้างจะทำหน้าที่ปรับแบบฐานรากและเสาเข็มชุดใหม่ให้หลบเสาเข็มเดิม โดยไม่กระทบต่อแบบบ้านในส่วนอื่นแต่อย่างใด (อาจใช้เวลาหรือมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มเติมบ้าง) ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หรือเกิดเพียงบางตำแหน่งเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ตำแหน่งเสาเข็มหรือฐานรากใหม่ตรงกับตำแหน่งเสาเข็มหรือฐานรากเดิมพอดี ก็ไม่ควรที่จะใช้ฐานรากหรือเสาเข็มเดิมในการรับน้ำหนักบ้านใหม่ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าฐานรากหรือเสาเข็มเก่าออกแบบการรับน้ำหนักไว้เท่าไร จึงควรรื้อถอนฐานรากเดิม และให้วิศวกรออกแบบฐานรากใหม่ให้หลบตำแหน่งเสาเข็มเดิม
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ตำแหน่งเสาเข็มหรือฐานรากใหม่ตรงกับตำแหน่งเสาเข็มหรือฐานรากเดิมพอดี ก็ไม่ควรที่จะใช้ฐานรากหรือเสาเข็มเดิมในการรับน้ำหนักบ้านใหม่ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าฐานรากหรือเสาเข็มเก่าออกแบบการรับน้ำหนักไว้เท่าไร จึงควรรื้อถอนฐานรากเดิม และให้วิศวกรออกแบบฐานรากใหม่ให้หลบตำแหน่งเสาเข็มเดิม
โดยสรุปแล้ว การออกแบบสร้างบ้านใหม่เองเจ้าของบ้านไม่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงตำแหน่งเสาเข็มเดิม เนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถแก้ปัญหาด้วยการออกแบบฐานรากใหม่ได้โดยไม่กระทบถึงความสวยงามหรือประโยชน์ใช้สอยใดๆ ของบ้าน ทั้งนี้การออกแบบฐานรากใหม่ควรที่จะปรึกษาวิศวกรโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
ชวนนท์ โฆษกิจจาเลิศ
การศึกษา: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การศึกษา: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
cr: scgbuildingmaterials.com
ช่องทางการติดต่อ
เคพี โฮมบิวเดอร์ คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
เคพี โฮมบิวเดอร์ รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
Phone: 📱0979692624 📱095-495-6444 📱099-141-9624
เค พี โฮม บิวเดอร์ รับออกแบบ รับสร้างบ้าน อาคารพาณิชย์ 🏗 🏠 🏢
เปิดทำการทุกวัน เวลา 8.00 น. - 17.00น.
"เราต้องการให้คนไทยมีบ้านคุณภาพในราคาที่ไม่แพง เสร็จตามเวลา"
#รับเหมาก่อสร้าง #ก่อสร้าง #งานก่อสร้าง #ช่างก่อสร้าง #สร้างบ้าน#บริษัทรับสร้างบ้านคุณภาพ #แบบบ้านสวย #สร้างบ้านตามความคิดคุณ#เคพีโฮมบิวเดอร์ #kphomebuilder #กการช่าง #kpassetdeveloper
เปิดทำการทุกวัน เวลา 8.00 น. - 17.00น.
"เราต้องการให้คนไทยมีบ้านคุณภาพในราคาที่ไม่แพง เสร็จตามเวลา"
#รับเหมาก่อสร้าง #ก่อสร้าง #งานก่อสร้าง #ช่างก่อสร้าง #สร้างบ้าน#บริษัทรับสร้างบ้านคุณภาพ #แบบบ้านสวย #สร้างบ้านตามความคิดคุณ#เคพีโฮมบิวเดอร์ #kphomebuilder #กการช่าง #kpassetdeveloper
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น