รอยแตกร้าวในที่พักอาศัย สัญญาณอันตรายก่อนบ้านถล่ม รอยร้าว ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน มีทั้งที่ไม่เป็นอันตราย เช่น รอยร้าวที่ผนังแตกลายงาไปทั่ว เกิดจากการยืดหดต้วของผนัง และวัสดุ รวมทังสาเหตุอื่น ทางด้านเทคนิค แก้ไขได้ง่ายๆโดยใช้วัสดุประเภทอุดโป๊วรอยแตกร้าวภายนอก (มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป) มาอุดโป๊วตามแนว แตกร้าว ปฏิบัติตามวิธีระบุไว้ หลังจากนั้นทาสีทับดังเดิมผนังที่แตกลายงาไม่สวยงามก็จะหายไปหรือในการทาสีบ้าน ให้เลือกใช้ที่มี คุณสมบัติปกปิด การแตกร้าวลายงาได้ เพราะสีเหล่านี้มีความ ยืดหยุ่นตัวสูง แต่มีรอยร้าวบางอย่างเป็นตัวบอกเหตุว่า โครงสร้างของบ้านเริ่มมีปัญหา ฉะนั้นหากท่านพบรอยร้าว ขอให้ท่านลองตรวจสอบดูว่า รอยร้าวนั้นยังร้าวต่อไปหรือไม่ดังนี้ เพราะนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยที่เราไม่ควรวางใจอย่างเด็ดขาด! 1. รอยร้าวกลางคาน ปัญหารอยร้าวกลางคาน จะเกิดจากการที่คานตัวนั้นจะต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้คานเกิดการแอ่นตัวลง ส่งผลให้คอนกรีตปริแตกออกเป็นรอยลักษณะเหมือนตัวยู (U) ล้อมคาน การแก้ไขเบื้องต้นให้ลองสำรวจสิ่งของที่อยู่เหนือบริเวณคาน หากมีสิ่งของที่มีน้ำหนักมากวางกดทับคานอยู่ ให้รีบเคลื่อนย้ายออกไปทันที รอยร้าวกลางคาน 2. รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง รอยร้าวในลักษณะนี้จะเกิดจากการแอ่นตัวของพื้นและคานที่อยู่เหนือผนังรองรับน้ำหนักไม่ไหว ส่งผลให้ผนังที่อยู่ติดกับโครงสร้างนั้นเกิดการแตกร้าว โดยลักษณะรอยร้าวมักเกิดขึ้นในบริเวณกลางผนังเป็นแนวดิ่งจากเพดานหรือจากพื้น ยาวไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงผนัง การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมาก ออกไปจากบริเวณนั้นทันที รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง 3. รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนัง รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนังจะเกิดจากการที่เสาของบ้านในจุดใดจุดหนึ่งเกิดการทรุดตัวลง (สมมุตใน 1 ห้องมี 4 เสา อาจเป็นเสาที่ 3 ที่ทรุดตัวลง) ส่งผลให้ผนังเกิดรอยแตกร้าวขึ้น การแก้ไขเบื้องต้นให้เฝ้าระวังรอยร้าวนี้ โดยวัดความกว้างและความยาวของรอยร้าวแล้วจดบันทึกเอาไว้ หากรอยร้าวไม่ลามต่อก็ยังไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่หากรอยร้าวยังมีความกว้างและยาวลามต่อไปอย่างรวดเร็ว ต้องรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างโดยด่วน รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนัง 4. รอยร้าวในคาน ใกล้เสา รอยร้าวลักณะนี้ จะเป็นรอยเฉียงๆ ปลายคานที่เชื่อมต่อกับเสาทั้งสองด้าน ลักษณะรอยร้าวเช่นนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยที่อันตรายมากเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากโครงสร้างของอาคารไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไม่ไหว กำลังจะฉีกแยกออกจากกัน หากใครเจอรอยร้าวลักษณะดังกล่าวให้รีบปรึกษาวิศกรโครงสร้างอย่างเร่งด่วน รอยร้าวในคาน ใกล้เสา 5. รอยร้าวบนเพดาน รอยร้าวลักษณะนี้จะเกิดจากเพดานที่ไม่มีคาน โดยลักษณะรอยร้าวนั้น หากเพดานเป็นเหล็กเสริมสองทางจะเป็นรอยกากบาททะแยงมุมเข้าหาเสาทั้ง 4 มุม แต่หากเป็นเหล็กเสริมทางเดียวจะเป็นรอยร้าวเส้นตรงขนานกับคานด้านใดด้านหนึ่ง การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมากจากด้านบนออก และรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างโดยด่วน รอยร้าวบนเพดาน หากท่านพบรอยร้าว ข้างต้นในบริเวณที่พักอาศัยของตัวเองแล้วล่ะก็ ขอให้ท่านลองตรวจสอบดูว่า รอยร้าวนั้นยังร้าวต่อไปหรือไม่ โดยใช้กระจกใสหนาประมาณครึ่งหุน กว้าง 3 ชม. ยาว 5 ซม. (หาซื้อได้ตามร้านกระจกทั่วไป) ติดคร่อมรอยร้าวด้วยกาวประเภท อีพ็อกซี่ เพื่อให้กระจกติดแน่นยึดอยู่กับที่ห่างกันเป็นจุดๆ ละประ มาณ 50 ซม. บันทึกวัน/เดือน/ปี ไว้ที่กระจก ทำการตรวจทุก 2 สัปดาห์ หากร้าวไม่หยุด กระจกที่ติดไว้จะแตก หรือใช้วิธีง่ายๆ โดยการใช้ปากกาขีดเส้นตรงคร่อมรอยร้าวเอาไว้ถ้ารอยร้าวไม่หยุดเส้น ที่ขีดไว้1จะเคลื่อนไม่เป็นเส้นตรง และควรรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างให้เร็วที่สุด เพื่อทำการแก้ไขและป้องกันอันตายที่จะเกิดขึ้นมาในภายหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น